นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ
กล่าวว่า
ภาคการเกษตรเป็นภาคที่มีความสำคัญมากในด้านการผลิตอาหารเพื่อความมั่นคงของชาติ
เมื่อเกิดวิกฤตการณ์ของชาติทุกครั้งภาคการเกษตรเป็นเบาะรองรับ ณ
วันนี้ภายใต้วิกฤตโควิด-19 ภาคการเกษตรไทยยังคงทำหน้าที่ได้อยู่แต่ก็อ่อนแอมาก
พึ่งตนเองไม่ได้ ล้มละลายทางเศรษฐกิจ การผลิตไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ
หนี้สินรุงรังมาก
อยากเห็นการแก้ปัญหาจากภาครัฐเพื่อให้ภาคเกษตรเป็นที่พี่งในระยะยาวได้
และสามารถเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ภาคชนบท
โดยสภาเกษตรกรแห่งชาติได้เสนอมาตรการเยียวยาภาคการเกษตร คือ มาตรการระยะสั้น
เงินสดที่จะส่งตรงถึงมือเกษตรกร
ซึ่งเห็นด้วยกับมาตรการเยียวยานี้จากรัฐบาลเพราะจะมีผลให้กำลังซื้อเพิ่มมากขึ้น
เกิดกระแสเงินหมุนเวียน มีผลต่อภาพรวมเศรษฐกิจไทย ความเดือดร้อนน้อยลงหากได้ถึงระยะเวลา
6 เดือนจะยิ่งดี
และด้วยภัยแล้งที่เป็นปัญหาถมทับและซ้ำเติมจึงมีมาตรการเพิ่มเติม คือ
ขอให้รัฐบาลพักหนี้ทั้งระบบ ไม่จ่ายทั้งต้นและดอกเบี้ย
แต่ให้คงสภาพหนี้ไว้ระยะเวลา 6 เดือนเพื่อให้ผ่านพ้นช่วงวิกฤต
โดยรัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยในระหว่างพักหนี้
รวมทั้งขอให้ผ่อนปรนกรณีเช่า/ซื้อเครื่องจักรกลการเกษตรไม่ให้เกิดการยึดคืนในระหว่างนี้ ทั้งนี้
ภาครัฐควรสนับสนุนให้การเกษตรในภาคชนบทปรับโครงสร้างให้มีความมั่นคง
ยั่งยืนมากขึ้น ซึ่งโครงสร้างการผลิตภาคครัวเรือนต้องมีความหลากหลายมากขึ้น
เพื่อจะลดแรงปะทะจากความเสี่ยงรอบด้าน สนับสนุนให้เกษตรกรได้มีความรู้ให้มากขึ้น
ขอให้มีมาตรการ/นโยบายในการแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้มากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.)
มีองค์ความรู้และงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยเยอะมากอยู่แล้วสามารถนำมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพด้านการผลิตได้
แต่ที่ผ่านมาไม่มีหน่วยงานกลางทำหน้าที่เชื่อมประสาน
สภาเกษตรกรแห่งชาติพร้อมทำหน้าที่ประสานให้ ขอเพียงรัฐบาลมีคำสั่งที่ชัดเจน
ไม่งั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็จะต่างคนต่างทำงานกันเหมือนเดิม
ท้ายสุดเมื่อผ่านพ้นวิกฤตทุกอย่างก็จะกลับมาเหมือนเดิม
อยากให้รัฐบาลใช้โอกาสนี้กลับไปเริ่มต้นใหม่ (Set Zero) โดยภาครัฐจัดตั้งกองทุนประเดิมภายใต้ ธ.ก.ส.เป็นพี่เลี้ยงและเจ้าภาพให้
รัฐอุดหนุนดอกเบี้ยให้ธกส.
อย่างไรก็ตาม
ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวต่อไปว่า ส่วน มาตรการระยะยาว
ในการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการผลิต รัฐบาลอาจสนับสนุนงบประมาณ 50,000 ล้านบาท ให้เกษตรกรทำเรื่องเสนอภายใต้กรอบที่มีให้
คือ ไม่มีดอกเบี้ย 5 ปี โดยต้องไม่รับเงินชดเชยจากภาครัฐอีกต่อไป
เกษตรกรไทยต้องยืนบนลำแข้งตัวเองให้ได้ เกษตรกรเองต้องตัดสินใจไม่งั้นต้องเลิกอาชีพนี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น